หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
Erectile Dysfunction(ED)
ปรึกษา รักษา ปัญหาหย่อนสมภมรรถภาพทางเพศ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ The Gent Clinic
- กลไกการแข็งตัวขององคชาต
- การวินิจฉัย
- สาเหตุภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- การรักษา
- วิธีป้องกันภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
สนใจปรึกษาเพิ่มเติม ฟรี!
คุยกับ "หมอเขม"
- หย่อนสมรรภาพทางเพศ
- หย่อนสมรรภาพทางเพศ(ED) คืออะไร
- ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หมายถึงการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้เต็มที่หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้จนเสร็จอาการนี้สามารถเกิดได้ตั้งแต่คนที่อายุน้อยและจะพบเจอมากขึ้นในกลุ่มที่อายุเยอะหรือมีโรคประจำตัวต่างๆ
- ถึงแม้ว่าการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศชาย สำหรับบางคนดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคอันตรายหลายๆอย่าง เช่น โรคหัวใจขาดเลือดผู้ที่มีปัญหาดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุของโรคและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล
- กลไกการแข็งตัวขององคชาต
- ก่อนที่จะทราบว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดจากสาเหตุใด จะให้การรักษาได้อย่างไร จะต้องเข้าใจกลไกการแข็งตัวของอวัยวะเพศก่อน ถึงจะสามารถรักษาได้ตรงจุด
อวัยวะเพศชายประกอบไปด้วยแกน 3 แกน
โดยการแข็งตัวของอวัยวะเพศจะต้องอาศัยแกนใหญ่ 2 แกนด้านบนที่เรียกว่า
คอร์ปัส คาเวอร์โนซั่ม (Corpus Cavernosum) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ (Sinusoid) ซึ่งภายในมีเส้นเลือดแดงฝอยจำนวนมาก
เมื่อมีการกระตุ้นทางเพศเกิดขึ้น
ในรูปแบบรูป รส กลิ่น เสียง หรือสัมผัส จะมีการส่งสัญญาณผ่านสมองส่วน Hypothalamus เป็นคำสั่งผ่านมาทางไขสันหลังมายังเส้นประสาทบริเวณอวัยวะเพศ และร่างกายยังมีการหลั่งสาร
Nitric oxide (NO)
แกนองคชาตเทียมชนิดนี้มีกลไกที่ไม่ซับซ้อน ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องกลไกชำรุด และราคาถูกกว่า ที่มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดบริเวณอวัยวะเพศเกิดการขยายตัว เลือดเข้ามาขังในเนื้อเยื่อฟองน้ำ จนเกิดกลไกการกดเส้นเลือดดำ ทำให้เลือดไหลออกจากอวัยวะเพศได้น้อยมาก ส่งผลให้มีการแข็งตัวเต็มที่และไม่อ่อนตัวก่อนที่จะถึงจุดสุดยอด (Orgasm) เรียกกลไกนี้ว่า การแข็งตัวจากการกระตุ้นทางจิตใจ (Psychogenic Erection) รวมทั้งไม่สามารถขยายขนาดได้ตามต้องการ
- การวินิจฉัย
- ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สาทารถวินิจฉัยได้จากอาการ ได้แก่ อาการอวัยวะเพศไม่แข็ง แข็งตัวไม่เต็มที่เหมือนเดิม หรืออวัยวะเพศอ่อนตัวก่อนจะเสร็จกิจ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการค้นหาสาเหตุ เพื่อที่จะแก้ไขได้ตรงจุด โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ การเจ็บป่วยและการผ่าตัดในอดีต โรคประจำตัวและยาที่ใช้ จากนั้นจะตรวจร่างกายเพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะเพศและประเมินขนาดลูกอัณฑะ รวมถึงต้องมีการการส่งตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรค เช่น ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ระดับฮอร์โมนเพศชาย หรือตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในกรณีต้องให้การรักษาด้วยฮอร์โมนเพศชาย
แบ่งระดับความรุนแรงโรค ดังนี้
ระดับรุนแรงน้อย (Mild ED)
ระดับรุนแรงปานกลาง (Moderate ED)
ระดับรุนแรง (Severe ED)
สาเหตุภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
ความผิดปกติจากด้านร่างกาย (Organic cause)
พบได้มากที่สุดเกือบ 70% ส่วนใหญ่เกิดจากโรคเรื้อรังต่าง เช่น โรคเบาหวาน หลอดเลือดแดงแข็งตัวจากอายุที่มากขึ้นหรือไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดมีปัญหา ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.เส้นเลือดแดงที่เข้าไปเลี้ยงอวัยวะเพศอักเสบ ตีบ หรืออุดตัน ส่งผลให้เลือดเข้าไปเลี้ยงไม่มากพอ
2.กลไกกดทับเส้นเลือดดำเสีย (Venous leakage) ทำให้เลือดกักอยู่ในอวัยวะเพศได้ไม่นาน
3.มีความผิดปกติร่วมกันทั้งเส้นเลือดแดงตีบ และกลไกกดทับเส้นเลือดดำผิดปกติ
ความผิดปกติจากด้านจิตใจ (Psychogenic cause)
กลุ่มนี้พบได้ประมาณ 10% เกิดจากปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกผิด หรือความกังวลว่าอวัยวะเพศจะไม่สามารถแข็งตัวได้
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone deficiency)
ระดับฮอร์โมนเพศชายจะส่งผลต่อความรู้สึกทางเพศ และยังทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ดี สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายจะพบมากในคนที่มีอายุมากกว่า 35 ปี แต่ปัจจุบันพบมากขึ้นในกลุ่มคนอายุน้อย เนื่องจากลักษณะการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยผู้ที่มีภาวะนี้อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย หรือ การแข็งตัวอวัยวะเพศตอนเช้าลดลง
ความผิดปกติด้านระบบประสาท (Neurological cause)
โดยป่วยอาจจะมีความผิดปกติได้ตั้งหลายระดับตั้งแต่
1.ระดับสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
2.ขสันหลัง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)
3.เส้นประสาทในอุ้งเชิงกราน เช่น เส้นประสาทอุ้งเชิงกรานบาดเจ็บ จากการผ่าตัดต่อมลูกหมาก
4.เส้นประสาทส่วนปลาย เช่น เบาหวานเรื้อรังทำให้เส้นประสาทส่วนปลายเสียหาย
ความผิดปกติจากปัจจัยภายนอก (External cause)
เกิดจากสาเหตุภายนอกร่างกาย ที่พบบ่อยได้แก่
1.ยา โดยเฉพาะในกลุ่มยาต้านซึมเศร้า ยาคลายเครียด1.ระดับสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
2.บุหรี่ การสูบบุหรี่เยอะและเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดอักเสบ สุดท้ายส่งผลให้หลอดเลือดตีบ
3.แอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็น ไวน์ เหล้า เบียร์ สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์กดประสาท ในคนปกติที่ไม่มีปัญหาการกินอาจจะทำให้รู้สึกว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศเพราะสามารถเพิ่มระยะเวลาให้นานมากขึ้น แต่ถ้ากินปริมาณมากจะทำให้การแข็งตัวอวัยวะเพศมีปัญหาได้
การรักษา
การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศนั้นต้องอาศัยการปรับพฤติกรรม และการรักษาที่ตรงกับสาเหตุ ซึ่งจะแบ่งการรักษาทั้งหมด ดังนี้
1.การปรับพฤติกรรม
โดยเริ่มจากการควบคุมโรคประจำตัวให้ดี เช่น คุมความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ รวมถึงออกกำลังกายและลดน้ำหนัก ถ้ามีความเครียดมากควรปรึกษาจิตแพทย์เพิ่มเติม
2.การใช้คลื่นกระแทก (Shockwave therapy)
เป็นการรักษารูปแบบใหม่ที่มีงานวิจัยรองรับว่าได้ผลจริง และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น หลักการคือใช้อุปกรณ์ส่งผ่านคลื่นกระแทก (Shockwave) เข้าไปบริเวณแกนองคชาต เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บ ซึ่งต้องมีการกระตุ้นหลายครั้ง ควรทำประมาณ 1 ครั้ง/สัปดาห์ ต่อเนื่องเป็นเวลาติดต่อกัน 3-6 สัปดาห์ หลังจากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อและหลอดเลือดใหม่ ทำให้การแข็งตัวดีขึ้น โดนในรายที่อาการไม่รุนแรงอาจจะช่วยให้แข็งตัวดีขึ้นจนไม่ต้องใช้ยากิน
3.การรักษาโดยใช้ยาฉีด
เป็นการใช้ยาฉีดเข้าอวัยวะเพศโดยตรงก่อนมีเพศสัมพันธ์ 5-10 นาที เป็นกลุ่มยา alprostadil หรือเรียกว่า prostaglandin E1 ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Sildenafil หรือก็คือ Viagra และ Sidegra ขององการเภสัชกรรม จะออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 4 ชั่วโมง
Tadalafil หรือที่รู้จักกันในชื่อ Cialis บางคนจะเรียกว่า Holiday pill เนื่องจากออกฤทธิ์ได้นานถึง 24-36 ชั่วโมง สามารถใช้กิน
4.การใช้ยากิน
เป็นการรักษาที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากง่าย ออกฤทธิ์เร็ว และได้ผลดี โดยเป็นยาในกลุ่ม PDE-5 Inhibitor ซึ่งเป็นการกินก่อนมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 30-60 นาที แต่ผลข้างเคียงค่อนข้างมาก เช่น ปวดหลัง ใจสั่น หน้าแดง หรือตาพร่า/ตามองเห็นเป็นสีฟ้า และห้ามใช้ร่วมกับยากลุ่ม Nitrate ห้ามใช้ในคนที่มีโรคหัวใจ/เส้นเลือดในสมองตีบ โดยในประเทศไทยที่นิยมจะมีสองกลุ่ม คือ
5.การผ่าตัดฝังแกนองคชาตเทียม (Penile prosthesis)
เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง ผ่านการรักษาทุกรูปแบบแล้วไม่ได้ผล หลังการผ่าตัดจะไม่มีผลกระทบต่อความรู้สึกการถึงจุดสุดยอด สามารถหลั่งน้ำอสุจิและปัสสาวะได้ปกติ แต่ในหลายคนจะพบว่าความยาวองคชาตตอนแข็งตัวลดลง โดยแกนองคชาตเทียมจะมี 2 แบบ ดังนี้
ชนิดแกนแข็งชิ้นเดียว (non-hydraulic penile prosthesis)
ชนิดแกน 3 ชิ้น (hydraulic penile prosthesis)
6.การใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริม (Testosterone replacement therapy)
เป็นหนึ่งในการรักษาหลักสำหรับคนที่ตรวจพบว่ามีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone deficiency) ซึ่งการใช้ฮอร์โมนเสริมมีหลายรูปแบบ ที่นิยมคือใช้ยาทา และยาฉีด นอกจากนี้แล้วควรต้องหาสาเหตุเพิ่มเติมของภาวะพร่องฮอร์โมนด้วย เช่น
ความเครียด
การดื่มแอลกอฮอล์เยอะ
พักผ่อนน้อย
มีโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive sleep apnea : OSA)
7.การรักษากลุ่มอื่น ๆ
การใช้กระบอกสูญญากาศ
การใช้ยาสอดในท่อปัสสาวะ
- งดสูบบุหรี่และ
- แอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี เช่น
- โรคไขมันในเลือดสูง ความดันสูง เบาหวาน
- หาวิธีลดความเครียดให้กับตัวเอง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- พบแพทย์ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อย
- เพื่อจะได้หาสาเหตุและแก้ได้ตรงจุด